....

กาลามสูตร ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
1 อนุสสวะ 2 ปรัมปรา 3 อิติกิรา

4 ปิฏกสัมปทาน 5 ตักกะ 6 นยะ 7 อาการปริวิตักกะ
8 ทิฏฐินิชฌานักขันติ 9 ภัพพรูปตา 10 สมโณ โน ครูติ
pimpun15@gmail.com

รอบรู้เรื่องตำลึง

ตำลึงเป็นผักสวนครัวชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์หลากหลาย วันนี้เราจึงขอหยิบเรื่องเกี่ยวกับตำลึงมาให้อ่านกัน

ตำลึง มีลักษณะเป็นเถาไม้เลื้อย มีมือจับเกาะยึดต้นไม้อื่นๆ มีดอกสีขาว มีผลเป็นรูปยาวรีคล้ายแตงกวา มีใบเป็นรูปทรงคล้ายหัวใจ สามารถนำใบและยอดอ่อนๆ มาแกงจืดก็อร่อย

ตำลึงมีสารเบต้าแคโรทีนที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด และมีแคลเซียมช่วยบำรุงกระดูกและฟัน มีฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ไนอาซิน และวิตามินซี ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลพบว่า หากกินตำลึงบ่อยๆ เส้นใยอาหารในตำลึงก็สามารถช่วยลดอัตราเสี่ยง ในการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย

นอกจากตำราแพทย์แผนโบราณ ตำลึงถือเป็นยาเย็น ใบช่วยขับพิษ และถอนพิษไข้ แก้อาการแพ้ อักเสบ แมลงมีพิษกัดต่อย แก้แสบคัน โดยใช้ใบตำลึงสดๆ ประมาณ 1 กำมือมาล้างให้สะอาด แล้วตำให้ละเอียด ผสมน้ำเล็กน้อย นำมาทาบริเวณที่มีอาการคันก็จะหาย

ตำลึงเป็นผักที่พบได้ง่าย แถมยังปลูกง่าย เพียงแค่เอาเมล็ดจากผลที่สุกจัดๆ มาเพาะ หรือเอาเถาแก่ยาวประมาณ 6-8 นิ้ว มาปักลงในดินผสมปุ๋ย หมั่นรดน้ำบ่อยๆ และหาไม้มาทำหลักให้ตำลึงเลื้อยเมื่อเถาเริ่มงอก ก็ได้ต้นตำลึงเอาไว้กินแกงจืดกันได้ทุกมื้อ และถ้ายิ่งเด็ด ยอดตำลึงก็จะยิ่งขึ้นงาม
รู้อย่างนี้แล้ว ลองหันมาหาตำลึงกินกันดีกว่า.
ที่มาข้อมูล : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

ข้อมูลโดย : นิตยสาร หนังสือพิมพ์เดลินิวส์