....

กาลามสูตร ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
1 อนุสสวะ 2 ปรัมปรา 3 อิติกิรา

4 ปิฏกสัมปทาน 5 ตักกะ 6 นยะ 7 อาการปริวิตักกะ
8 ทิฏฐินิชฌานักขันติ 9 ภัพพรูปตา 10 สมโณ โน ครูติ
pimpun15@gmail.com

งานเปิดศูนย์ประสานงานที่ บ้านป่าข่อยใต้ ต.สันผีเสื้อ

งานเปิดศูนย์ประสานงานที่ บ้านป่าข่อยใต้ ต.สันผีเสื้อ

ข่าวสารประชาสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2551 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ตลาดเช้าบ้านป่าข่อยใต้ (ศาลาประชาคม) ได้มีการเปิดศูนย์ประสารงานที่ บ้านป่าข่อยใต้ ต.สันผีเสื้อ เชิญชมบรรยากาศ

ข้อมูลบ้านป่าข่อยใต้ พอสังเขป

ตำบลสันผีเสื้อ ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ มีประชากรจำนวน 8,421 คน มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 12 ตารางกิโลเมตร เนื้อที่ทั้งตำบลประมาณ 7,511 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำปิงไหลผ่าน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่หล่อเลี้ยงชุมชนในตำบลสันผีเสื้อ อาชีพส่วนใหญ่คือ ปลูกพริกขี้หนู พริกหนุ่ม กะหล่ำดอก บล็อกโคลี่ แต่เดิมเกษตรกรใช้สารเคมีและยากำจัดศัตรูพืชในการเพาะปลูกอย่างไม่ถูกต้อง และใช้ในปริมาณมาก ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม จากการตรวจสารเคมีตกค้างในร่างกายของเกษตรกร โดยสถานีอนามัยตำบลสันผีเสื้อ พบว่ามีสารเคมีตกค้างในร่างกาย เกษตรกรสูงถึงร้อยละ 78 จากการตรวจสภาพดินของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่าในดินมีธาตุโปแตสเซียม ตกค้างสูง สาเหตุมาจากการใช้ปุ๋ยเคมีจำนวนมาก และเป็นเวลานาน ทำให้ได้ผลผลิตน้อยลง มีโรคใบหงิกและเชื้อรา แทรกในผลผลิต ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ลดลง

ต่อมาในปี 2549 พี่น้องเกษตรกรตำบลสันผีเสื้อ และองค์การบริหารส่วนตำบล

สันผีเสื้อ ได้เข้าร่วมโครงการอาหารเชียงใหม่ปลอดภัย ซึ่งดำเนินการโดยภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรปลอดภัยจากสารพิษในจังหวัดเชียงใหม่อย่างเป็นระบบ เพิ่มทางเลือกการบริโภคให้กับประชาชน ส่งเสริมการผลิตพืชผักในจังหวัดเชียงใหม่ให้มีมาตรฐานในการผลิตที่กว้างขึ้น และประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคทั่วไปมั่นใจในมาตรฐานควบคุมอาหารเชียงใหม่ปลอดภัย จัดระบบข้อมูลการผลิตพืชผักปลอดภัยจากสารพิษที่สามารถตรวจสอบเส้นทางอาหารได้อย่างมีระบบ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มเกษตรกร กลุ่มนักวิชาการ กลุ่มผู้บริโภค และกลุ่มผู้จำหน่ายเพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มมิตรภาพระหว่างกลุ่ม

เมื่อดำเนินการในโครงการดังกล่าว ถึงปี 2550 เกษตรกรตำบลสันผีเสื้อ มีการลด การใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมีลง เพิ่มการใช้ปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยคอก ส่งผลให้ผลผลิตมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคในตำบลสันผีเสื้อ สิ่งที่ตามมา คือเกษตรกรมีสุขภาพดีขึ้น จากการตรวจหาสารเคมีตกค้างในร่างกาย พบว่าผลตรวจเลือดของเกษตรกรมีความปลอดภัย เพิ่มขึ้นร้อยละ 68

การตรวจส่วนประกอบของดินที่เพาะปลูกพบว่าดินดีขึ้น ไม่พบสารเคมีตกค้างในดิน

นอกจากนั้น เกษตรกรยังจัดทำแปลงเรียนรู้การเพาะปลูกพืชผักปลอดภัย เพื่อให้

เป็นแหล่งเรียนรู้ โดยมีการจัดตั้งพื้นที่ 4 แห่ง ในหมู่ที่ 2 บ้านป่าข่อยใต้ ต.สันผีเสื้อ ดังนี้ 1. สวนนายนคร คำฟั่น ตั้งอยู่ เลขที่ 233 2. สวนนายประทวน เชื้อทน ตั้งอยู่เลขที่ 198 3. สวนนางจันทรา วงค์คำ ตั้งอยู่เลขที่ 103 4. สวนนายประมิตร ทิพย์โสด ตั้งอยู่เลขที่ 59

ดังนั้นเพื่อให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพื้นที่ตำบลสันผีเสื้อเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน คณะพี่น้องเกษตรกรตำบลสันผีเสื้อ และองค์การบริหารส่วนตำบลสันผีเสื้อจึงได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานการเรียนรู้การผลิตพืชผักปลอดภัยขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นจุดรวบรวมข้อมูลด้านการผลิตและเป็นจุดแลกเปลี่ยนสินค้าด้านการเกษตรของเครือข่ายเป็นแหล่งประสานงานเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับคนในชุมชนที่ให้ความสนใจมาศึกษาดูงาน

บทบาทศูนย์ประสานงานการเรียนรู้การผลิตพืชผักปลอดภัย หมู่.2 บ้านป่าข่อยใต้ ต.สันผีเสื้อ

1. เป็นศูนย์รับข้อมูลข่าวสารจากโครงการอาหารเชียงใหม่ปลอดภัยและองค์กรต่าง ๆ

2. เป็นศูนย์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ลูกสมาชิกบุคคลที่ให้ความสนใจ

3. เป็นที่รวบรวมข้อมูลของสมาชิกผู้ผลิตพืชผักปลอดภัยจากสารพิษ บ้านป่าข่อยใต้ ต.สันผีเสื้อ

4. เป็นคลินิกให้คำปรึกษาและการวางแผนการผลิตซึ่งจะมีผู้ที่มีองค์ความรู้ปราชญ์ชาวบ้านและนักวิชาการเกษตรจากเกษตรอำเภอเกษตรจังหวัดและมหาวิทยาลัยมาร่วมให้คำปรึกษาเป็นระยะ

5. เป็นศูนย์จัดการกองทุนปุ๋ยหมัก และกองทุนเมล็ดพันธุ์พืช

ซึ่งการดำเนินงานทั้งหมด ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากพี่น้องชาวตำบลสันผีเสื้อ ทั้งในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ครู นักเรียน พี่น้องเกษตรกร ทั้ง 9 หมู่บ้าน คณะกรรมการดำเนินงานพื้นที่การเรียนรู้การผลิตพืชผักปลอดภัย และภาคีเครือข่ายโครงการอาหารเชียงใหม่ปลอดภัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์บริหารจัดการโครงการผักปลอดสารพิษ จังหวัดเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

ในวันเปิดศูนย์ได้มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้

1. นิทรรศการแสดงผลผลิต จากเครือข่ายเกษตรปลอดภัยจากสารพิษ เกษตรปลอดสารพิษและเกษตรอินทรีย์ ของตำบลสันทราย อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

2. นิทรรศการตรวจหาสารเคมีตกค้างในพืชผัก โดย ดร.ธนะชัย พันธุ์เกษมสุข คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

3. นิทรรศการแสดงผลผลิตจากศูนย์วิจัยและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ( MCC )

4. นิทรรศการแสดงผลผลิตจากศูนย์บริหารจัดการโครงการผักปลอดสารพิษ จังหวัดเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ( MCS )

5. นิทรรศการจากศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดเชียงใหม่

6. การจำหน่ายผลผลิตปลอดภัยจากเครือข่ายเกษตรปลอดภัยจากสารพิษ อ.แม่วาง

เปิดศูนย์ประสานงานแหล่งเรียนรู้พืชผักปลอดภัย หมู่.2 บ้านป่าข่อยใต้ ต.สันผีเสื้อ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ในวันที่ 26 มีนาคม 2551 เวลา 09.00-12.00 น ณ ตลาดเช้าบ้านป่าข่อยใต้ (ศาลาประชาคม)

ติดประกาศ Friday 11 Apr 08@ 14:41:20 ICT โดย xenon